มีนาคม 2568
วันคณิตศาสตร์โลก
หรือวันพายเดย์ (Pi Day) ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1988 เดือนมีนาคม (3rd) วันที่ 14
ณ San Franisco 's Exploratorium พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา
เพื่อเฉลิมฉลองค่าคงที่ของ ? (Pi) ในทางคณิตศาสตร์คือ 3.14 ที่มาจากการนำความยาวเส้นรอบวง
หารด้วยความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางนั้นๆ โดยที่จะเป็นวงกลมขนาดเท่าใด ในสถานการณ์ใดก็ตาม
ผลลัพธ์ที่ได้มีทศนิยมไม่รู้จบ หรือเรียกว่า จำนวนอตรรกยะ แต่จะมีตัวเลขเพียง 3 ตัวนี้เท่านั้น
เป็นค่าที่เหมือนกัน ดังนั้นค่า 3.14 จึงเป็นตัวเลขที่น่าอัศจรรย์
ความสำคัญของค่าพาย
นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ใช้ค่า 3.14 ในการคำนวณพื้นที่และปริมาตร
ของสิ่งที่มีรูปร่างเป็นวงกลมและทรงกลม และช่วยให้สามารถวัดขนาดของสิ่งเล็กๆ
ตั้งแต่ระดับโมเลกุลจนไปถึงสิ่งใหญ่ๆ เช่น โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์
วิธีการเฉลิมฉลอง
เมื่อคิดถึงคำว่า Pi ผู้คนทั่วไปจะจินตนาการถึงขนมที่ทำจากแป้ง มีลักษณะเป็นก้อนวงกลม
สามารถตัดแบ่งครึ่งโดยมีเส้นแบ่งเหมือนเส้นผ่านศูนย์กลาง แล้วแบ่งส่วนเป็นชิ้นๆ
มีลักษณะสามเหลี่ยม มีฐานโค้งที่มาจากขอบของก้อนพาย ด้วยคำพ้องเสียงนี้เอง
การกินขนมที่เชื่อมโยงกับค่าคงที่ Pi ในวัน Pi Day จึงสนุกสนานและเป็นโอกาส
ให้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวงกลมเชิงพื้นที่และปริมาตร
แหล่งอ้างอิง : https://www.cbsnews.com/news/what-is-pi-day-holiday-what-to-know/