ตุลาคม 2566

 
วันที่อยู่อาศัยโลก (World Habitat Day) ทุกวันจันท์แรกของเดือนตุลาคม มีที่มาภายใต้ "โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ" โดย UN-Habitat
เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2528 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกให้ความสำคัญกับสถานการณ์การอยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตลอดจนตระหนักถึงสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมของประชากรทุกคนบนโลก ปีนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม UN – HABITAT มีคำขวัญว่า "Resilence urban economies, Cities as drivers of growth and recovery เศรษฐกิจเมืองที่ยืดหยุ่น มีเมืองเป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูและสร้างความเจริญ" 

ในส่วนกิจกรรมสำหรับเยาวชน ครูหรือผู้ปกครองชวนเด็กๆ ตั้งแต่อายุ 6 ขวบขึ้นไปมาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปร่างและภูมิศาสตร์ประเทศไทย มีทั้งในรูปแบบเกมกระดานเกมกระดาน ชุดเที่ยวทั่วไทย ET-506 เกมต่อจิ๊กซอว์ ET-550 และโปสเตอร์แผนที่ทางภูมิศาสตร์ EP-597 เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานไว้เชื่อมต่อกับการเรียนรู้เรื่องที่อยู่อาศัย ทิศทาง เช่น ประเทศไทยแบ่งพื้นที่ออกเป็นภาคต่าง การเดินทางภายในประเทศทางบกและมีทางออกทางทะเล เป็นต้น
 
และน้อมรำลึกวันที่ 13 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของรัชกาลที่ 9 ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ผ่านการศึกษาพระราชกรณียกิจนานัปการ EP-431 EP-432 เกี่ยวกับระบบแม่น้ำ EP-403 และเขื่อน EP-136 EP-137 ในประเทศไทย
 
วันอาหารโลก (World Food Day) คือวันที่ 16 ตุลาคม เกิดขึ้นเนื่องในวันก่อตั้งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2488 สำหรับประเทศไทยมีองค์กรและสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมร่วมกัน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาที่ดินอยู่อาศัยและผลิตอาหารคุณภาพอย่างยั่งยืน 

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในภูมิภาคอาเซียน มีพืชพันธุ์ธัญญาหารคล้ายคลึงกัน การไปมาหาสู่และการเคลื่อนย้ายแรงงานเชิงระบบ ทำให้เกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหาร ปัจจุบันการกินอาหารอย่างมีความรู้จำเป็นมากเพราะวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีทำให้การปรุงแต่งมีความหลากหลาย ทั้งในมิติของหน้าตาและรสชาติ ถ้าผู้ปกครองหรือคุณครูจะนำความรู้พื้นฐานตั้งแต่เรื่องอาหารหลัก อาหารท้องถิ่น อาหารอาเซียน ตลอดจนยกตัวอย่างอาหารที่ต้องเลือกรับประทาน โดยพิจารณาตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงเครื่องปรุงแต่ง ก็จะทำให้เด็กๆ ได้บริโภคอาหารคุณภาพ รู้ที่มาของแหล่งอาหารปลอดภัย หรือที่เรียกกันว่า อาหารออร์แกนิค ช่วยลดโอกาสเสี่ยงกับภาวะการเกิดกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
 
มีเกมเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องอาหารที่เชื่อมโยงข้อมูลจากอาหารสำเร็จเป็นจานๆ ไปยังวัตถุดิบคือสื่อการสอน อาหาร-วงล้อโภชนาการ ET-544 และ พี่หมีอาหารหลัก 5 หมู่ ET-599 ระหว่างการเล่นเกม ถ้ามีการจัดเสิร์ฟอาหารด้วยชุดรองจาน รองแก้ว สำหรับเด็ก ก็เป็นการสร้างบรรยากาศให้เด็กๆ จดจ่อในเกมและรับความรู้ในแนวทาง Play and Learn ซึ่งจะทำให้เข้าใจและจดจำได้นาน



เรียนรู้เกี่ยวกับแหล่งอาหารและที่มาของผลผลิตกลุ่มพืชผักในรูปแบบสื่อการสอนแผ่นภาพขนาด A4 และจิ๊กซอว์ต่อกัน ช่วยให้เด็กๆ ฝึกสังเกตและจดจำ นอกจากนี้ยังได้จำคำศัพท์ที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและตลอดชีวิต ถ้าการเรียนรู้มีการปรับเปลี่ยนบรรยากาศไปนอกห้องเรียน หรือตกแต่งห้องเรียน ลองมองหาสื่อแขวนซึ่งเป็นอุปกรณ์การสอนเอนกประสงค์ มีลักษณะเป็นพับเมื่อพกพาและคลี่ออกโดยทิ้งตัวตามแนวดิ่งแขวน ณ จุดที่ต้องการ หรือที่เห็นได้ชัดเจน และด้วยลักณะที่พับได้นี้ ครู
หรือผู้สอนก็ใช้เป็นกลวิธีในการสอนได้ โดยเปิดแผ่นให้ดูทีละแผ่น สอนไปทีละแผ่น เพิ่มความอยากรู้ของผู้เรียน ทำให้การสอนดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
 
 
 
 
Visitors: 57,984