พฤษภาคม 2568
วันผึ้งโลก ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ ดร.อันตัน ฮัลซา (Anton Jansa) ผู้บุกเบิกการเลี้ยงผึ้งสมัยใหม่ผึ้งมีการแบ่งงานกัน โดยตัวอ่อนจะมีผึ้งงานเป็นพี่เลี้ยงดูแล เมื่อตัวอ่อนเจริญวัยขึ้น จะมีหน้าที่ตามอายุและเพศ ได้แก่ ผึ้งนางพญา ทำหน้าที่ผสมพันธุ์ วางไข่ ควบคุมดูแลภายในรัง และ ผึ้งงาน ตัวเมียทำหน้าที่หาอาหาร ตัวผู้มีหน้าที่ผสมพันธุ์กับผึ้งนางพญา อาหารของผึ้งคือน้ำหวานจากดอกไม้ ขณะที่ผึ้งงานเกาะที่ดอกไม้และดูดน้ำหวาน เกสรจะติดที่ขาของผึ้ง เมื่อผึ้งบินไปเกาะดอกใหม่ทำให้เกิดการผสมกันของเกสรตัวผู้ตัวเมีย นั่นคือ ผึ้งเป็นตัวกลางสำคัญที่เร่งให้ดอกไม้เจริญเป็นเมล็ดและเป็นผลในที่สุด
เราอาจจะมองว่าน้ำผึ้งเป็นผลิตผลที่ได้จากผึ้งเป็นสำคัญ แท้จริงแล้วบทบาทของผึ้งในการช่วยผสมเกสรนั้น สำคัญเท่าๆ กันจำนวนผึ้งจึงมีผลต่อระบบนิเวศในแง่ของการเพิ่มจำนวนพืชพรรณและความหลากหลายในโลกถึง 80% ทีเดียวด้วยกลไลในธรรมชาตินี้ พันธุกรรมพืชจะแข็งแรง ปรับตัวเก่ง อยู่รอด สืบพันธุ์ต่อไปได้ มนุษย์ก็พลอยได้ผลผลิตคุณภาพ นับเป็นความมั่นคงทางอาหารของเรา ในทางกลับกันถ้าผึ้งมีจำนวนลดลงอาหารของคนก็ลดลงด้วยเช่นกัน