google13076cdc17b3388d

กันยายน 2567

Imagination is more important than knowledge. Knowledge is limited. Imagination encircles the world.
ข้อความส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ ตีพิมพ์ในวารสารรายสัปดาห์ Saturday Evening Post ฉบับประจำวันที่ 26 ต.ค. ค.ศ.1929 ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เพราะความรู้เป็นสิ่งจำกัด ขณะที่จินตนาการขับเคลื่อนโลกทั้งใบ ถ้าคิดอะไรไม่ออกก็วางความรู้ลง แล้วใช้จินตนาการ ต่อด้วยการเอาความรู้ทั้งมวลมาสร้างให้จินตนาการนั้นเป็นจริง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ต้องหาความรู้ให้หลากหลายถ่องแท้ (ที่มา anowl.co โดย ปิยพร ศักดิ์เกษม) เมื่อจินตนาการของไอสไตน์ที่ว่าแสงเดินทางเป็นเส้นโค้งได้รับการพิสูจน์ จึงทำให้โลกตื่นตัวในการใช้จินตนาการนำความรู้กันอย่างแพร่หลาย มาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ส่งเสริมให้เกิดจินตนาการแก่เด็กๆ

  • กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ เพิ่มพูนจินตนาการ Magic Puzzles ตัวต่อเสริมจินตนาการ ต่อเป็นคำศัพท์ ต่ออักษร A-Z ต่อเป็นภาพต่างๆ เช่น รูปร่างสัตว์ จระเข้ แมว แมงมุม ลิง ช้าง รูปร่างสิ่งต่างๆ แว่นตา รถยนต์ บ้าน ต้นไม้ 
  • เด็กๆ เล่นต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน ซึ่งระหว่างนั้น สมองจะมีการสร้างสื่อประสาทเพิ่มขึ้นมากมาย ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณภายในเซลล์ ควบคุมการทำงานของร่างกายอย่างเป็นระบบ

วันเยาวชนแห่งชาติ เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 ตามมติคณะรัฐมนตรีโดยถือความเป็นสิริมงคลให้ตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ซึ่งทั้ง 2 พระองค์ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในขณะที่ยังทรงพระเยาว์ และปีเดียวกันนี้องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป็นปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญว่า “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” “Participation, Development and Peace”

  • คุณสมบัติของเยาวชนที่พึงประสงค์ มี 6 ประการ ได้แก่
  1. มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทยและดำรงชีวิตด้วยการรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
  2. มีสุขภาพแข็งแรง รู้จักป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด
  3. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีความรับผิดชอบเป็นไปตามวัย
  4. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน และภาคภูมิใจในการทำงานที่สุจริต
  5. รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  6. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ

เมื่อเยาชนต้องการพัฒนาการตามช่วงวัย โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ช่วยทำให้สมองจดจำสิ่งต่างๆ เพื่อนำไปเพิ่มพูนประสบการณ์ โดยดูเกณฑ์อายุก่อนจึงหากิจกรรมที่เหมาะกับช่วงวัยนั้นๆ 
  • การจำแนกเด็กตามช่วงวัยเป็น 4 ช่วงวัย ได้แก่
  1. เด็กปฐมวัย คือเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน อายุ 0-6 ปี
  2. เด็กวัยประถมศึกษา คือเด็กที่อายุระหว่าง 6-12 ปี 
  3. เด็กก่อนวัยรุ่น คือวัยก่อนวัยรุ่น อายุระหว่าง 11-13 ปี
  4. เด็กวัยรุ่น คือเด็กที่กำลังอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นถึงอุดมศึกษา อายุระหว่าง 13-21 ปี

ทั้งนี้ผู้ปกครองอาจจะต้องช่วยเลือกสรร ด้วยการสังเกตธรรมชาติ ลักษณะนิสัย ความชอบของเด็กในครอบครัวหรือในปกครอง เพราะพัฒนาการแต่ละด้านล้วนส่งผลกระทบต่อกัน

Visitors: 73,686